Sbobet Sbobet888

"จูบ" ... อย่าคิด ... ว่าไม่สำคัญ...?

madamred 2008-10-28 14:57:51

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined variable: tag_links

Filename: site/news-detail.php

Line Number: 47

จูบ ... อย่าคิด ... ว่าไม่สำคัญ...?

          "จูบ คุณคิดว่าไม่สำคัญ แต่เมื่อคุณจูบฉัน ทำไมฉันสั่นไปถึงหัวใจ ...."

        หลายคนคงเคยได้ยินได้ฟังบทเพลงกึ่งเรทอาร์นิดๆ อย่าง "จูบ" กันมาบ้าง และแน่นอนว่า มันเป็นเพลงที่ทำให้ใครต่อใครรู้สึกว่า อากัปกิริยาการ "จูบ" นั้น เป็นการสื่อถึงอารมณ์รักใคร่ต่ออีกฝ่ายหนึ่ง และทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องก็ต่างแฮปปี้ กับ อาการนั้น ดังจะเห็นตัวอย่างกันในละคร หรือ ภาพยนตร์ เป็นส่วนใหญ่

       แต่ก็มีการจูบบางอย่างที่ ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวี่วุ่นวายได้เหมือนกัน โดยเฉพาะ ในวงการฟุตบอล

        ที่ปูนมาซะยาวนั้น ไม่ใช่อะไรหรอก สืบเนื่องมาจากกรณีของ เวย์น รูนี่ย์ กองหน้าของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แสดงอาการจูบเสื้อ ซึ่งก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่ "เจ้าหมูรูน" ดันส่อเจตนายั่วยุแฟนบอลทีมเก่า เอฟเวอร์ตัน หลังได้รับใบเหลืองจากผู้ตัดสิน อลัน ไวลีย์ ในจังหวะที่เข้าสกัด มิเกล อาร์เตตา กองกลางขวัญใจเจ้าถิ่น จนถูกโห่จากแฟนบอลทั่วสนาม นะซิ จนเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ต้องรีบชิงเปลี่ยนตัวออกทันที เพราะเกรงว่า ใบแดง จะมาแบบไม่ได้รับเชิญ

        โอเค หลังจากจบเกม ก็ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงอะไรเกิดขึ้นในสนาม แต่นอกสนามเนี้ยสิ รูนี่ย์ ก็ต้องโดนสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (เอฟเอ) สั่งลงโทษ โทษฐานที่ไปเย้ยหยันแฟนบอลซะงั้น ซึ่งดูแล้ว จะว่าไป มันก็ไม่ใช่เรื่องเท่าไหร่ เพราะทั้งๆ ที่ กลุ่มแฟนบอล "เอฟเวอร์โตเนี่ยน" เป็นพวกที่จุดชนวนเหตุก่อนแท้ๆ ด้วยการ ตะโกนด่าทอ รูนี่ย์ ที่แปรพักตร์ไปอยู่กับสโมสรที่ใหญ่, ดัง และดี กว่า เอฟเวอร์ตัน

         แต่ทำไม กลับมาจ้องเล่นงาน นักเตะที่แค่จูบเสื้อ (ไม่ใช่กระโดดขาคู่ กังฟูคิก เหมือน เฮียเอริค คันโตน่าเสียหน่อย) แทนที่ จะไปลงโทษแฟนบอลปากปีจอเหล่านั้นแทน 

        แล้วถามว่า "การจูบเสื้อ" เพื่อเป็นการตอบโต้กับสิ่งเหล่านี้ มันหนักหนาสาหัสอะไรหรือมั้ย?

         ก็เปล่าเลย หากเทียบกับพฤติกรรมที่ แฟนบอล แสดงออกมา เอฟเอ ควรจะดีใจซะมากกว่า ที่นักเตะบอล ไม่ได้แสดงอาการตอบโต้รุนแรง หรือ ชูสัญลักษณ์หยาบคาย หรือ ดูถูก อย่าง การชูนิ้วกลาง ออกมา เพราะโดยส่วนตัวแล้วคิดว่า "การจูบเสื้อ" ถ้าจะเรียกให้หรูซักหน่อย ก็น่าจะเป็น "อริยะขัดขืน" (กำลังฮิตแถวทำเนียบรัฐบาล) เสียมากกว่า เนื่องเพราะเป็นการตอบโต้อาการไม่พอใจแบบ นิ่มนวล แต่มีความหมายแทงใจดำ โดยที่ไม่มีคำพูดใดๆ หลุดออกมา ให้เป็นมลภาวะทางหู

         ดังนั้น แทนที่ เอฟเอ จะมัวแต่จ้องเล่นงาน นักเตะ พวกเขา ควรจะคิดใหม่ทำใหม่ว่า ต้นสายปลายเหตุ มันเป็นมาอย่างไร ใครคือผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำก่อนกันแน่ และควรจะมีมาตรการควบคุม แฟนบอลนิสัยเสียเหล่านี้ ให้ออกจากวงการลูกหนังเสียมากกว่า

         จะว่าไป ขอบเขตการเชียร์ของแฟนบอลในปัจจุบัน ก็ดูจะฮาร์ทคอร์และเลยเถิดจากสนามหญ้าขึ้นทุกวัน ซึ่งหลายต่อหลายคำ ก็อาจมีความร้ายแรงก็คงไม่ต่างอะไรกับประเด็นเหยียดผิวที่ สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ให้ความสนใจเป็นพิเศษ เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการด่า ไอ้อ้วน, ไอ้ควาย, ไอ้โง่, ไอ้เนรคุณ, ไอ้ชาติสุนัข, ไอ้ขี้พุ่ง, ไอ้จอมแหกตา,ไอ้ขี้โกง, ไอ้หน้าเงิน, ฯลฯ

         นอกจากนี้ การสวมบทท่านเปาของ เอฟเอ ในครั้งนี้ ก็ทำให้เป็นน่าเรื่องน่าคิดเกี่ยวกับเกมฟุตบอลสมัยใหม่อย่างยิ่ง เพราะมันส่อเจตนากลายๆ ว่า จิตวิญญาณของกีฬา ได้แปรเปลี่ยนไปเป็นเรื่องของธุรกิจหมดแล้ว โดยให้คำนิยามใหม่ว่า "แฟนบอล คือ ลูกค้า และ ลูกค้า ก็คือ พระเจ้า" ดังนั้น เมื่อแฟนบอล ซื้อตั๋ว เข้ามาชมเกม พวกเขาก็จะต้องได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด ซึ่งอาจรวมถึง การด่าพ่อ ล่อแม่ นักบอลที่เหม็นขี้หน้า อย่างไรก็ได้ ตราบใดที่ยังไม่วางมวยกันเสียก่อน เพื่อให้เกิดอาการสะใจโรคจิต ขณะที่ นักฟุตบอล เองก็ต้องกลายเป็นสินค้า ที่ต้องคอยถูกโขกสับตามหน้าที่

         หลายคนอาจบอกว่า "ก็พวกแกรับเงินค่าเหนื่อยก็มากโขแล้ว แค่นี้ ทำเป็นรับไม่ได้" หรืออาจจะบอกว่า "นักฟุตบอล เป็นบุคคลสาธารณะ ที่ต้องเปิดให้คนอื่นๆ วิพากษ์วิจารณ์ แสดงความเห็นได้ รวมถึง จะต้องเป็นผู้มีความอดทนอดกลั้น ต่อแรงกดดันมากกว่า บุคคลธรรมดา"

         แล้วที่นี้ ลองถามกลับว่า การด่าทอแบบนี้ มันใช่การวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความเห็นหรือ? เพราะดูยังไง มันก็มีเค้าของการ "หมิ่นประมาท" อยู่เหมือนกัน หากจะเอาสาระกันจริงๆ ซึ่งคนด่า ก็คือคนต้องรับโทษไม่ใช่หรือ? แต่กับ เอฟเอ ดันเลือกลงโทษแต่นักเตะ แต่ไม่กล้ายุ่งกับ แฟนบอล

          และอีกอย่าง แฟนบอล เสียตังค์ มาดูบอล ไม่ใช่หรอ... ไม่ใช่เสียตังค์ เพื่อจะมาด่าคน !!!

         ดังนั้น โดยส่วนตัวแล้ว การแก้ปัญหา ก็ควรเริ่มที่ต้นเหตุ นั่นคือ ควบคุมนิสัยเสียๆ ของแฟนบอล ให้ได้ โดยมีมาตรการทำให้ การเชียร์ อยู่ในขอบเขตของเกม ไม่ใช่เชียร์อะไรก็ได้ตามอำเภอใจ

         หรือหากคิดว่า มันยากไป หรือ จะไปบั่นทอนสีสันความสนุกของเกมลง เอฟเอ ก็ควร จะเปิดช่องให้ นักฟุตบอล ได้แสดงท่าที "อริยะขัดขืน" ด้วยการ "จูบเสื้อ" ได้ จะดีกว่า .... ถือว่า แฟร์ดี

Ads



Related Post